หน้าไหม้แดดเกิดจากอะไร ?
เป็นภาวะอักเสบของผิวหนังโดยเกิดจากร่างกายได้รับรังสียูวี (Ultraviolet) หรือแม้แต่รังสี UV เทียมจากหลอดไฟ UV และตู้อบผิวแทนในปริมาณมากหรือได้รับเป็นเวลานานเกินไป จนรังสียูวีทำลายผิวหนังชั้นนอกและเกิดอาการผิวไหม้บริเวณใบหน้า โดยภาวะดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นหลังจากผิวโดนแดดประมาณ 2-6 ชั่วโมง โดยมากมักพบอาการแสบร้อนตามผิวหนัง ผิวเปลี่ยนสีเข้มขึ้นเป็นสีแดง หลังจากนั้นผิวไหม้แดดจะเริ่มก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหรืออาการอื่น ๆ ตามมา เช่น รู้สึกแสบบริเวณดวงตา มีหนองบริเวณรอบแผล มีอาการคลื่นไส้ หนาวสั่นคล้ายไข้หวัด ฯลฯ
ผิวไหม้แดดมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
1. ผิวไหม้แดดไม่รุนแรง
จะมีอาการปวดและมีรอยแดงประมาณ 3-5 วัน อาจมีผิวลอก ซึ่งเป็นผลัดเซลล์ผิวในช่วงวันสุดท้ายเพื่อสร้างเซลล์ผิวใหม่ทดแทน
2. ผิวไหม้แดดระดับปานกลาง
จะมีอาการเจ็บปวดบริเวณผิวไหม้มากกว่าปกติ รู้สึกแสบร้อนเมื่อสัมผัสผิวไหม้ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในช่วงฟื้นฟูผิวให้กลับมาเป็นปกติ และผิวจะลอกหลังจากหายประมาณ 2-3 วัน
3. ผิวไหม้แดดรุนแรงมาก
จะมีอาการแดงมากและมีตุ่มน้ำบริเวณแผล ทั้งนี้อาจใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จนกว่าจะฟื้นฟูสภาพผิวจนกลับมาเป็นปกติ หากอยู่ในภาวะดังกล่าวแนะนำให้พบแพทย์โดยเร็วที่สุด
อันตรายจากหน้าไหม้แดด
- เมื่อได้รับรังสียูวีเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังในระยะยาว
- เมื่อผิวหนังถูกทำลายเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อผิวหนังถูกทำลายและพัฒนากลายเป็นมะเร็งผิวหนัง
- เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ หากรุนแรงอาจถึงขั้นอ่อนเพลียรุนแรงหรือหมดสติ
- มีไข้ หนาวสั่น วิงเวียนศีรษะ
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อหน้าไหม้แดด
- ผู้ที่มีผิวขาว
- ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ผู้ที่เสี่ยงต่อการโดนแดดเป็นประจำและเป็นเวลานาน
- ผู้ที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเป็นเวลานาน
- ผู้ที่ใช้ยาที่มีคุณสมบัติไวต่อแสง
วิธีฟื้นฟูผิวหน้าจากภาวะไหม้แดด
1.ดื่มน้ำให้มากขึ้น
เมื่อร่างกายอยู่ในพื้นที่ที่มีแดดจัดซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง ร่างกายจึงต้องสร้างเหงื่อเพิ่มขึ้นเพื่อปรับอุณหภูมิร่างกายให้สมดุล ร่างกายจึงสูญเสียน้ำในร่างกายมากกว่าเดิม ดังนั้นการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ตามปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย เนื่องจากผิวต้องการความชุ่มชื้นเพื่อฟื้นฟูและเติมเต็มน้ำที่สูญเสียไป ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ โซดา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น
2. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการโดนแดด
โดยการแต่งกายมิดชิดเมื่อต้องออกแดด ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าหนา แดดส่องไม่ทะลุ, ไม่อยู่ในสถานที่ที่มีแดดเกิน 30 นาที, พกร่มกางทุกครั้งเมื่อโดนแดด
3. บำรุงผิวด้วยผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
เลือกใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป เพื่อป้องกันรังสียูวีเอ (UVA) และยูวีบี (UVB) โดยทาครีมก่อนออกไปข้างนอกอย่างน้อย 30 นาที และทาอย่างสม่ำเสมอแม้แต่ในวันที่ไม่มีแดด
4. ฉีดเมโส
เมโส (Mesotheraphy) เป็นวิธีการรักษาโดยการฉีดสารบำรุงต่าง ๆ เข้าสู่ชั้นผิวโดยตรง ซึ่งจะช่วยบำรุงผิวหน้าให้ชุ่มชื้น ผิวมีสุขภาพดี ข้อดีของเมโสนั้นจะช่วยให้เห็นผลลัพธ์เร็วกว่าครีมบำรุงผิวที่ใช้ระยะเวลาและความสม่ำเสมอ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาดูแลตัวเองหรือละเลยการดูแลผิวเป็นเวลานาน