ปัญหาฝ้ากระกวนใจ แก้ปัญหานี้อย่างไรดี !

เบื่อปัญหาฝ้ากระกวนใจ แก้ปัญหานี้อย่างไรดี

ฝ้ากระจัดเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ทำให้สาว ๆ หลายคนไม่สบายใจ เพราะนอกจากจะทำให้ผิวหน้าดูหมองคล้ำแล้ว ยังส่งผลต่อความมั่นใจของสาว ๆ เป็นอย่างมากด้วย ยิ่งปล่อยไว้นานวันไม่รีบรักษา ยิ่งใช้เวลารักษานานอีกด้วย วันนี้หมอโบจะมาพูดถึงปัญหาดังกล่าวพร้อมวิธีรักษาด้วยวิธีการต่าง  ๆ

ฝ้ากระเกิดจากอะไร

ฝ้า หรือเลือด (Vascular melisma) เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยบนผิวหน้า ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยแตกและมีเลือดเป็นกระจุกบริเวณพังผืดใต้ผิวหนังชั้นลึก หากปล่อบไว้นานอาจทำให้เส้นเลือดบริเวณใบหน้ามีปัญหา ไม่สามารถกักเก็บเลือดได้ และมีเลือดซึมออกมาบริเวณใต้ผิวหนัง โดยทั่วไปแล้วฝ้ามีสีน้ำตาลแดงและพบได้ในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชาย สำหรับฝ้าบนใบหน้าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์, ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์, ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงระหว่างวัยหมดประจำเดือน, ผู้ที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ, ฝ้าแดดจากการที่ใบหน้าโดนแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานานจนได้รับรังสี UVA และ UVB มากเกินไป หรือแม้แต่เป็นผลจากพันธุกรรมที่มีเม็ดสีดำ (Melanin) สะสมมากและสะสมเป็นเวลานาน จึงเห็นเป็นวงฝ้าสีน้ำตาลชัดเจน

ฝ้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

โดยทั่วไปแล้วฝ้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ฝ้าตื้น และ ฝ้าลึก

1.ฝ้าตื้น (Epidermal type)

เป็นฝ้าที่มีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา หรือสีเทาอมฟ้า มีขอบเขตฝ้าไม่ชัดเจน มีสีกลืนไปกับผิวหน้าเป็นวงกว้าง

2.ฝ้าลึก

เป็นฝ้าที่มีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงเทาดำ สามารถเห็นขอบเขตฝ้าชัดเจน ส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณชั้นหนังกำพร้า

ฝ้ากระเป็นปัญหาเดียวกันหรือไม่

แม้ว่าจะเกิดจากสีผิวชั้นหนังกำพร้าเกิดความผิดปกติ แต่ทั้งสองชนิดนี้ไม่ใช่ปัญหาเดียวกันค่ะ เพราะฝ้าเป็นปื้นสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงเข้มและพบเป็นกระจุก ส่วนกระเป็นจุดกลมเล็ก มีขอบชัดเจน กระจายทั่วใบหน้า โดยทั้งสองชนิดนี้พบบริเวณโหนกแก้ม คาง หน้าผาก เหมือนกัน จึงทำให้หลายคนเรียกพร้อมกันว่าฝ้ากระสะสม

ฝ้ากระ อันตรายไหม

แม้ว้าฝ้ากระจะส่งผลต่อความมั่นใจบนใบหน้า แต่ไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกายทั้งระยะสั้นและระยะยาวแต่อย่างใด

ป้องกันฝ้ากระสะสมได้อย่างไรบ้าง

  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีวิตามิน, เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป
  • ดื่มน้ำเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว (ประมาณ 1,500-2,000 มิลลิลิตร)
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน
  • ล้างหน้าตามแนวโพรงขน เพื่อระบายความมันและสิ่งสกปรก ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น เกิดฝ้ายากขึ้น
  • รับประทานอาหารบำรุงผิวที่มีวิตามิน A, C และ E
  • ใช้สมุนไพรมาส์กหน้า เช่น หัวไชเท้า, ว่านหางจระเข้
  • ทาครีมกันแดดที่มี SPF50 PA+++ ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV
  • การทำ Laser กำจัดเซลล์เม็ดสีด้านล่าง, ทานยายับยั้งการสร้างเซลล์เม็ดสี และยาฉีดในกรณีที่ฝ้าตอบสนองต่อการรักษาได้ไม่ดีเท่าที่ควร
  • งดใช้ครีมที่มีสารไฮโดรคิวโนและสารเสตียรอยตามอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่ได้รับการรับรองจาก อย.

โปรแกรมรักษาฝ้าที่ Amenla Clinic